คำพูดที่ว่าธุรกิจสั่งอาหารออนไลน์ มาแรงแซงทุกกิจการในเวลานี้ เห็นจะไม่มีใครกล้าปฏิเสธแล้ว
กับสถานการณ์ที่เราต้องเผชิญหน้าภาวะโรคระบาด Covid-19 การเว้นระยะห่างทางสังคมบีบให้คนทั้งโลกรวมถึงไทย ต้องสั่งอาหารออนไลน์ หรือ Food Delivery กิจการร้านอาหารที่มีบริการแบบนี้ล้วนเติบโต และมียอดขายที่เพิ่มขึ้นทันตาเห็น ร้านอาหารของแฟรนไชส์ 5 ดาวเองก็มีบริการสั่งอาหารออนไลน์ด้วยเช่นเดียวกัน
ก่อนหน้าที่ Covid-19 จะระบาดใหญ่ พฤติกรรมของคนรุ่นใหม่ ก็เป็นแรงขับทางหนึ่งที่ทำให้การสั่งอาหารออนไลน์เติบโต เรามีชื่อเรียกพฤติกรรมการสร้างโลกส่วนตัวขึ้นที่บ้านว่า “Cocooning” หรือ ”หลุมหลบภัย”
“ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน” ผู้ดำเนินรายการเช้านี้ประเทศไทย, เศรษฐกิจคิดต่าง และคุยไร้กระบวนท่า มองว่าการส่งอาหารที่เรียกว่า Delivery นั้นสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ ด้วยเทคโนโลยีที่ทำให้การอยู่บ้านสะดวกสบายขึ้น การติดต่อสื่อสารก็ทำได้ง่าย แทนที่จะออกไปกินที่ร้านอาหาร จึงนิยมสั่งมากินที่บ้าน การมี Food Delivery จึงเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์ เพราะคนมีความต้องการในลักษณะแบบนั้นอยู่แล้ว
ในกลุ่มประเทศอาเซียนก็จะมีลักษณะคล้าย ๆ กัน คือมีคนรุ่นใหม่จำนวนมาก มีร้านอาหารอร่อย ๆ อยู่เยอะ แต่มีการจราจรที่ค่อนข้างหนาแน่น จึงทำให้ธุรกิจ Food Delivery สามารถเติบโตขึ้นมาได้
ข้อมูลของ GlobalData มีการรวบรวม และประมาณการว่า คนรุ่นใหม่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ที่อายุประมาณ 25-35 ปี จำนวนกว่า 43% นั้นมีการใช้บริการ Food Delivery ในการสั่งอาหาร
มูลค่าของเงินที่หมุนเวียนในธุรกิจ Food Delivery ปี 2018 มีประมาณ 64,000 ล้านบาท ส่วนในปี 2019 เพิ่มมากขึ้นเป็น 250,000 ล้านบาท ในขณะที่ข้อมูลของศูนย์วิจัยกสิกรไทยพบว่า ในปี 2019 บริษัทที่ทำบริการFood Delivery ไม่ว่าจะเป็น LINE, Grab หรือ GET มียอดรายได้เติบโตขึ้นถึง 14% ตัวเลขนี้ยังไม่ได้รวมมูลค่ายอดขายจริงของร้านอาหารแต่ละร้าน ดร.วิทย์ ย้ำว่า “ทำไม Food Delivery ถึงเติบโต เราต้องมองย้อนกลับไปที่ข้อมูล และผลสำรวจของ GlobalData ที่บอกว่าพฤติกรรมการดำรงชีวิตของคนรุ่นใหม่ในปัจจุบัน เขามีอยู่คำหนึ่งครับที่เรียกว่า Cocooning นั่นเอง มันตอบโจทย์อย่างไรน่ะหรือครับ เขาก็บอกว่ามันคือการที่ทำให้คนรุ่นใหม่เนี่ยมีโลกส่วนตัว และหลายสิ่งหลายอย่างจะเกิดขึ้นในโลกส่วนตัวรอบ ๆ Cocooning ของคนรุ่นใหม่นี่แหละครับ”
อีกหนึ่งผลสำรวจของ Global Data ที่ระบุว่า ในประเทศไทย Food Delivery คือสิ่งที่สามารถตอบโจทย์
คนรุ่นใหม่ได้ดี เพราะมีอยู่หลายปัจจัยที่เกื้อหนุน เช่น จำนวนประชากรที่มากขึ้น เวลาในชีวิตที่ค่อนข้างน้อยลง กรุงเทพเป็นนครหลวง หรือเป็นสวรรค์ของอาหารอร่อย เรามีร้านอาหารอร่อยอยู่จำนวนมากทีเดียว และธุรกิจอาหารในปัจจุบันนี้จะถือว่าสมบูรณ์แบบได้นั้นจำเป็นต้องมีในส่วนของ Food Delivery คือมีบริการจัดส่งอาหารไปยังผู้บริโภคได้นั่นเอง
ท่ามกลางบริบทการแพร่ระบาดของเชื้อ Covid-19 นี้ ทำให้แต่ละคนต้องอยู่บ้าน แต่ก็ไม่ใช่ทุกบ้านที่จะ
ปรุงอาหารกินเอง บางครอบครัวอาจจะอยู่คอนโดมิเนียม จึงไม่สะดวกในการทำอาหาร การสั่งอาหารจากข้างนอกเข้ามากินในบ้าน หรือ Food Delivery จึงมีความจำเป็นมาก
ดร.วิทย์ บอกว่า ท่ามกลางสถานการณ์เช่นนี้ บริษัทที่มีการให้บริการ Food Delivery ไม่ว่าจะเป็น LINE, Grab หรือ GET ต่างก็เปิดให้ผู้ค้าอาหารสามารถที่จะสมัครรับบริการ และเชื่อมต่อเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ
Food Delivery ได้โดยมีลักษณะแบบ Fast track นั่นมีความหมายว่า ท่านสามารถเข้าสู่บริการค้าขายอาหารแบบสั่งออนไลน์ และจัดส่ง Delivery ได้อย่างรวดเร็ว
ในสถานการณ์เช่นนี้ ร้านอาหารที่มีเมนูดี มีอาหารถูกสุขลักษณะ รสชาติอร่อย ไม่ฉวยโอกาสที่จะขึ้นราคา
แถมยังมีสาขาทั่วกรุงเทพ และต่างจังหวัด หากมีบริการ Food Delivery ด้วยแล้วจะถือว่าเป็นธุรกิจอาหารที่สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคในยุคนี้ได้อย่างลงตัว